Sanook77

พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด

กรุงเทพมหานครข่าว
//s.isanook.com/ss/0/ud/3/16457/1eee.jpg

นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการวิจัยคิดค้นนวัตกรรมการใช้จุลินทรีย์ช่วยเพิ่มแร่ธาตุอาหารให้กับพืชในรูปแบบปุ๋ยชีวภาพ ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้เกษตรกร และผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษ ทำให้มีสุขภาพดี รักษาสมดุลของระบบนิเวศ สนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยและช่วยสนับสนุนนโยบายการขับเคลื่อนวาระเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ

โดยการคัดเลือกเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และในปี 2563 จึงนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ชนิดใหม่ ใช้ชื่อว่า “พด.13 ไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด”

ซึ่งประกอบด้วย ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา 2 สายพันธุ์ (Glomus sp. และ Acaulospora sp. ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวโพด) และแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ (แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ Azotobacter chroococcum และแบคทีเรีย ผลิตฮอร์โมนพืช Bacillus sp. ช่วยให้ไมคอร์ไรซาเข้าอยู่อาศัยในรากได้เพิ่มขึ้น)

สำหรับจุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.13 ไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มการดูดใช้ธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะฟอสฟอรัส ส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตข้าวโพด ลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยราไมคอร์ไรซา เป็นราที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากพืชโดยมีความสัมพันธ์แบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ราจะสร้างเส้นใยเจริญรอบราก แล้วเข้าไประหว่างเซลล์รากพืช โดยมีการสร้างโครงสร้างพิเศษ ช่วยดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ส่งต่อให้กับพืช สร้างความทนทานให้กับพืชและเพิ่มผลผลิตพืชมีประสิทธิภาพดีในสภาพพื้นที่ดินมีปัญหา เช่น ดินกรด และดินเค็ม ทนต่อสภาพความแห้งแล้ง พิษของโลหะหนัก รวมทั้งลดการเข้าทำลาย ของเชื้อโรคในดิน

นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินโดยเส้นใยของเชื้อราจะสร้างสารกลูมาลิน ช่วยทำให้เกิดการจับตัวกันของอนุภาคดินเกิดเป็นก้อนดิน (aggregate) ส่งผลต่อการพัฒนาสมบัติดินทั้งทางกายภาพและเคมีของดิน และมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของข้าวโพด

การนำผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.13 ไมคอร์ไรซา ไปใช้ประโยชน์สำหรับปลูกข้าวโพด ต้องมีการขยายเชื้อโดยนำไปขยายเชื้อร่วมกับข้าวโพดหรือข้าวฟ่างในกระถางหรือถุงปลูกก่อน โดยใช้ทราย 8 กิโลกรัมและปุ๋ยหมัก 2 กิโลกรัมผสมกันเป็นวัสดุปลูก นำวัสดุปลูกนี้ใส่กระถางหรือถุงพลาสติก

จากนั้นโรยผง พด.13 ประมาณ 1 ซอง รองก้นหลุม แล้วหยอดเมล็ดข้าวโพดลงในกระถางหรือถุงพลาสติก (ปลูกข้าวโพดร่วมกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเป็นการขยายเชื้อจุลินทรีย์) เป็นเวลา 60 วัน เชื้อที่ขยายแล้วในวัสดุปลูก 1 กระถาง หรือ 1 ถุงพลาสติก

สามารถนำไปใช้หยอดร่วมกับเมล็ดข้าวโพดในการปลูกข้าวโพดได้พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ผลจากการใช้ผลิตภัณฑ์ พด.13 ไมคอร์ไรซาทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ ร้อยละ 20 - 50 ข้าวโพดสามารถดูดซับฟอสฟอรัสได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 - 30 และผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 - 20

ทั้งนี้เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทร 0 – 2579 – 0679 และ Call Center 1760 ต่อ 1379

แกลเลอรี

พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด
พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด
พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด
พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด
พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด
พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด
พด. ชูผลิตภัณฑ์ใหม่ พด.13 นวัตกรรมไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวกรุงเทพและปริมณฑลกรุงเทพมหานคร

เนื้อหาโดย

ปางปราบมาร
เปิดโปงความชั่วทั่วพิภพ ตีแผ่ความดีทั่วแผ่นดิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

นายกฯเศรษฐา เป็นห่วงท่องเที่ยวและงานโมโตจีพี หลัง กองทุนพัฒนากีฬาฯ ตัดงบ 150 ล้านบาท

นายกฯเศรษฐา เป็นห่วงท่องเที่ยวและงานโมโตจีพี หลัง กองทุนพัฒนากีฬาฯ ตัดงบ 150 ล้านบาท

โดยปางปราบมาร/
เปิดแล้วงานมหกรรมเจ้าพระยาป่าสัก Up Expo 2023
สระบุรีข่าว
โดยHiranyawat A./
โหลดเพิ่มเติม