Sanook77

ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย

ตรังข่าว
//s.isanook.com/ss/0/ud/2/13363/1erw41.jpg

 

เริ่มแล้ว วันแรม 8 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี  งานประเพณีลากพระทางน้ำข้ามทะเลหนึ่งเดียว จ.ตรัง  วิถีไทยวิถีชาว ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ  ตั้งรกรากริมทะเล สืบทอดกันมาร่วมหลายร้อยปี ปีนี้งดออกทะเลไปแหลมจุโห้ยเพราะคลื่นลมในทะเลแรง                                  
                                          

วันที่ 10 ตุลาคม 2563 นี้  เวลา 09.30 น ที่ท่าเทียบเรือปากปรน ม.1 ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง    นายณรงค์  หนูเนียม นายอำเภอหาดสำราญ     นายวิวา  เก้าเอี้ยน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1   พร้อมชาวบ้าน อ.หาดสำราญหลายร้อยคน   ร่วมประเพณีลากพระทางน้ำข้ามทะเล

โดยมีเรือพาย เรือขบวนกลองยาว รวมทั้งเรือชาวบ้านนักท่องเที่ยวที่ร่วมขบวน 20ลำ ร่วมกันลากเรือพระ ออกจากท่าเทียบเรือบ้านปากปรน ไปยังปากอ่าวแม่น้ำปะเหลีบยระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร แล้วหันหัวเรือกลับ มายังท่าเรือบ้านปากปรน ใช้เวลา 2 ชั่วโมง

ในปีนี้สาเหตุที่ผู้นอท้องถิ่น ชาวบ้านไม่นำขบวนเรือไปยัง แหลมจุโหย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ระยะทางรวมไปกลับ 10 กิโลเมตรนั้น เพราะกรมอุตุประกาศเตือนคลื่นลมในทะเลแรง ตั้งแต่วันที่ 7-11 ตุลาคมนี้  เพื่อความปลอดภัย ในการประชุมชาวบ้านจึงตัดสินใจ ไม่ออกทะเลไปยังแหลมจุโห้ย เหมือนทุก ๆ เพราะคลื่นลมในทะเลแรง

ผู้สื่อข่าวสังเกตได้เมื่อเรือถึงปากอ่าวแม่น้ำปะเหลียนเชื่อมปากอ่าวตรงทะเล ลมแรง อีกทั้งชาวประมงเองก็งดทำการประมงในระยะนี้

ในขบวนเรือพระ จะอัญเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์นั่งประจำเรือ พร้อมทั้งใส่เครื่องดนตรี โพน มีเรือกลองยาวคอยตีตามจังหวะ ฉิ่ง ฉาบ ไว้คอยส่งสัญญาณให้จังหวะในการลาก ตลอดช่วงเวลาการลากเรือพระจะมีกิจกรรมซัดต้ม การเกี้ยวพาราสีหยอกล้อระหว่างเรือแต่ละลำ บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักและสนุกสนาน

ในช่วงบ่ายจะมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน แข่งขันขูดมะพร้าว แข่งขันลอกใบจาก แข่งขันแทงต้ม(ห่อขนมต้ม) การประกวดร้องเพลง  เป็นต้น เพื่อเป็นการร่วมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีให้สืบทอดกันเรื่อยมานับร้อยปีจนถึงปัจจุบัน กระทั่งเป็นประเพณีประจำถิ่นเพียงแห่งเดียวในโลก
                                           

สำหรับงานประเพณีลากพระทางน้ำข้ามทะเลนี้     นับเป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบทอดมายังคนรุ่นหลังหลายร้อยปี  เพราะพี่น้องชาวไทยพุทธที่อาศัยอยู่ที่ริมทะเล หาดสำราญ รักษาประเพณีวัฒนธรรมอันดีนี้ไว้   โดยชาวบ้านเชื่อว่าเป็นวันที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์สู่โลกมนุษย์ หลังเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดุสิต ตลอดพรรษา

ซึ่งชาวบ้านทั่วไปจะเดินทางไปร่วมงานลากเรือพระทางบก แต่เนื่องจากชาวปากปรน  ต.หาดสำราญ   ตั้งรกรากริมทะเล มีอาชีพทำการประมง วิถีชีวิตจึงเกี่ยวข้องกับแม่น้ำลำคลอง ทะเล   ใช้เรือสัญจรและประกอบอาชีพ    ซึ่งในสมัยก่อนการเดินทางโดยทางบกเป็นไปด้วยความยากลำบาก ประกอบกับชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะทำการประมงกันในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง หรือน้ำใหญ่

ดังนั้นชาวบ้านปากปรน  จะยึดเอาช่วง วันแรม 8 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ชักพระทางน้ำข้ามทะเล   ส่วนการลากพระในพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดตรัง หรือภาคใต้  จะมีการลากพระกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี  ชาวบ้านปากปรนจึงมักไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน  จึงต้องทำการลากพระทางน้ำข้ามทะเล กันในวันแรม 8 ค่ำเดือน 11 ของทุก ๆ ปีจนมาถึงวันนี้หลายร้อยปีแล้ว
                                         

 

 

 

 

แกลเลอรี

ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย
ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย
ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย
ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย
ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย
ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย
ลากพระทางน้ำข้ามทะเล จ.ตรัง แห่งเดียวในไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวภาคใต้ตรัง

เนื้อหาโดย

Suched I.

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

นายกฯเศรษฐา เป็นห่วงท่องเที่ยวและงานโมโตจีพี หลัง กองทุนพัฒนากีฬาฯ ตัดงบ 150 ล้านบาท
กรุงเทพมหานครข่าว

นายกฯเศรษฐา เป็นห่วงท่องเที่ยวและงานโมโตจีพี หลัง กองทุนพัฒนากีฬาฯ ตัดงบ 150 ล้านบาท

โดยปางปราบมาร/
เปิดแล้วงานมหกรรมเจ้าพระยาป่าสัก Up Expo 2023
สระบุรีข่าว
โดยHiranyawat A./
โหลดเพิ่มเติม